สภาการศึกษาแห่งเมืองฮิราคาตะ
ประเทศญี่ปุ่น

ความมั่นใจในชั้นเรียน ขับเคลื่อนโดย iPad

1:1 คือจำนวน iPad ต่อนักเรียนและนักการศึกษา
32,000 อุปกรณ์
63 โรงเรียน

จุดกึ่งกลางระหว่างโอซาก้าที่เต็มไปด้วยความครึกครื้นและเกียวโตที่ขึ้นชื่อเรื่องความเงียบสงบ คือเมืองฮิราคาตะที่กำลังปฏิรูปแนวคิดด้านการศึกษาในเขตการศึกษาของตนอย่างเงียบๆ ย่านชานเมืองที่เหมาะสำหรับครอบครัวย่านนี้ เป็นบ้านของนักเรียนประถมกว่า 20,000 คน และมัธยมต้นอีก 10,000 คน ซึ่งมุ่งมั่นผลักดันเป้าหมายทางการศึกษาเพื่อปลูกฝังให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ เชื่อมความสัมพันธ์ และสร้างโอกาส ไปพร้อมกับช่วยส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ทางสภาการศึกษาแห่งเมืองฮิราคาตะจึงจัดหา iPad ให้กับนักเรียนประถมและมัธยมต้นทุกคนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ พวกเขายังเล่าอีกว่าตอนนี้นักเรียนมีความมั่นใจ มีส่วนร่วม และกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้นกว่าเดิม

สภาการศึกษาตัดสินใจเปลี่ยนแปลงแนวทางการสอนจากการเน้นให้ความรู้มาเป็นการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งผู้สอนก็สามารถพัฒนาทักษะการใช้ iPad ได้อย่างรวดเร็ว และปรับเปลี่ยนบทเรียนให้สอดคล้องกับแนวคิดนี้ได้อีกด้วย "iPad ช่วยลดเวลาเตรียมสื่อการสอนของผู้สอนได้เป็นอย่างดี และยังทำให้นำเสนอเนื้อหาได้สะดวกยิ่งขึ้นด้วย" Tsuyoshi Ueda ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษา Higashi Kori กล่าว "ซึ่งทำให้ผู้สอนสามารถใช้เวลาไปกับการลงลึกในเนื้อหาต่างๆ ได้มากขึ้น" นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้สอนใช้ iPad บ่อยขึ้นและนำไปใช้ในบทเรียนต่างๆ มากยิ่งขึ้น

โดยตอนนี้ครูผู้สอนต่างก็สามารถออกแบบการมอบหมายงานที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เชิงลึกและถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองออกมาได้หลากหลายรูปแบบ อย่างเช่นในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมต้น นักเรียนจะใช้แบบจำลองเพื่อจำลองการปะทุของภูเขาไฟ โดยใช้ iPad บันทึกวิดีโอการทดลอง แล้วสังเกตว่าตัวแปรต่างๆ ในองค์ประกอบทางเคมีของลาวาและความหนืดให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันอย่างไร ซึ่งนักเรียนยังได้ตรวจสอบฟุตเทจเพื่อเปรียบเทียบแต่ละตัวอย่างพร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมในแต่ละครั้ง แล้วค่อยนำฟุตเทจมารวมกันใน iMovie เพื่อสร้างวิดีโอที่อธิบายสมมติฐานและข้อสรุปของตนเอง

อย่างในชั้นเรียนภาษาญี่ปุ่น นักเรียนประถมก็ยังใช้ GarageBand เพื่อบันทึกเสียงดนตรีประกอบบทกวีไฮกุที่มีชื่อเสียง โดยเลือกใช้เครื่องดนตรีจาก GarageBand และบันทึกเสียงธรรมชาติหรือเสียงเครื่องดนตรีที่ใช้มือจับ เช่น กลองหรือระฆังราว ด้วยไมโครโฟนของ iPad จากนั้นก็จะบันทึกเสียงตนเองอ่านออกเสียงบทกลอนไฮกุ และตัดต่อเสียงเพื่อสร้างบทกวีที่มีท่วงทำนอง และนำไปแชร์กับเพื่อนๆ ผ่าน Apple TV ในห้องเรียน กิจกรรมนี้ช่วยให้นักเรียนได้คิด สำรวจ และบันทึกสิ่งต่างๆ รอบตัว เพื่อทำให้บทกวีมีชีวิตชีวาขึ้นจนสัมผัสได้ และยังเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้แสดงมุมมองเฉพาะตัวอีกด้วย

งานมอบหมายเหล่านี้ไม่เพียงแค่ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้นักเรียนโดยทำให้เรียนรู้เนื้อหาได้เร็วขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยให้นักเรียนเชื่อมโยงการเรียนรู้เข้ากับโลกความเป็นจริงรอบตัวได้โดยตรงด้วย ความสำเร็จดังกล่าวยังปรากฏผ่านข้อมูลการสำรวจของสภาการศึกษาที่ระบุว่า นักเรียนที่ใช้ iPad มีความสุขกับการเรียนมากขึ้น และ iPad ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของนักเรียน โดยโรงเรียน 100% ในฮิราคาตะรายงานว่า นักเรียนใช้ iPad ในห้องเรียนทุกวัน และสามารถนำ iPad กลับบ้านได้ทุกวันด้วยเช่นกัน

Giyu Nagayama ผู้อำนวยการหลักสูตรของสภาการศึกษาแห่งเมืองฮิราคาตะอธิบายว่า "ความสุขจากการสร้างสรรค์เป็นองค์ประกอบสำคัญของสุขภาวะที่ดี และยังช่วยส่งเสริมการบรรลุศักยภาพตนเองและการยืนยันคุณค่าของตนอีกด้วย ซึ่ง iPad นี่แหละคือผู้ช่วยที่ทำให้นักเรียนได้สัมผัสกับความสุขแบบนี้ หากได้เฝ้ามองความสำเร็จของพวกเขา จะเห็นได้เลยว่ามีเพียงความภาคภูมิใจและความสุขล้นเปี่ยมที่พวกเขาได้สัมผัสตลอดเส้นทางจริงๆ"

เรื่องราวทั้งหมด

ช่วยนำนักเรียน
สู่ความสำเร็จในทุกระดับ

เลือกดูเรื่องราวความสำเร็จทั้งหมด

Apple กับการศึกษาระดับ K-12

ผลิตภัณฑ์และแหล่งข้อมูลของ Apple ออกแบบมาเพื่อทำให้การเรียนรู้

เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล มีความสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจ

ดูเพิ่มเติม